Ohm โอห์ม คือ หน่วยของความต้านทาน
และการหาหน่วยฐานเอสไอ ของโอห์ม โดยมี
เกออร์ก ไซมอน โอห์ม Georg Simon Ohm
ได้ค้นพบ ความสัมพันธ์ ระหว่างกระแสไฟฟ้า
และ ความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้า ในตัวนำโลหะ
|
|
โอห์ม (สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วย อนุพันธ์ เอสไอ ของความต้านทาน(resistance) เป็นชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแก่ เกออร์ก ไซมอน โอห์ม Georg Simon Ohm ผลงาน : กฎของโอห์ม Ohm's Law ได้พบความสัมพันธ์ ระหว่างกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้าและ ความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้า ในตัวนำโลหะ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวใดๆ แปรผันตรงกับความต่างศักย์ (แรงดันไฟฟ้า) และแปรผกผันกับ ความต้านทานระหว่างสองจุดนั้นที่กระแสไหลผ่าน
|
|
ในวงจรมี V แรงดัน (โวลท์) I กระแส (แอมป์) R ความต้านทาน(โอห์ม) เมื่อ เราป้อน แรงดัน (โวลท์) ไปในวงจร ความต้านทาน(โอห์ม) คงที่ ได้ กระแส (แอมป์) มีค่าคงที่ ความต้านทาน(โอห์ม) เพิ่มขึ้น ได้ กระแส (แอมป์) มีค่าลดลง ความต้านทาน(โอห์ม) ลดลง ได้ กระแส (แอมป์) มีค่าเพิ่มขึ้น
ตัวความต้านทาน มองแล้วน่าเหมือนในธรรมชาติ เป็นเขื่อนที่กั้นแม่น้ำ เมื่อใด เขื่อน ยอมให้น้ำไหลผ่านได้น้อย คือ ความต้านทานมาก น้ำที่ไหลออกมา ก็ออกมาน้อย ทำนองเดียวกัน เมื่อ ยอมให้น้ำผ่านมากเหมือนกับความต้านทานลดลง น้ำ หรือ กระแส ก็ไหลผ่านได้มาก |
|
โอห์ม : Ω (Ohm) หน่วยอนุพันธ์ เอสไอ เราสามารถหาหน่วยฐานเอสไอ ได้ดังนี้
|
|
จาก V แรงดัน (โวลท์), I กระแส (แอมป์), R ความต้านทาน(โอห์ม)
R (ความต้านทาน: Ω) = V ( แรงดัน :V ) / I ( กระแส : A)
ดังนั้น เราจะได้หน่วย ของ R ความต้านทาน Ω เท่ากับ V / A
|
|
thank you data : m i k r o E l e k t r o n i k a ชอบแล้ว เป็นกำลังใจให้เรา อย่าลืมกดปุ่ม ถูกใจ บน FACEBOOK |